ด้วยผู้บริหารของสถาบันมีนโยบายที่จะนำสถาบันสู่การเป็นสถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐ หมายความว่า สถาบันจะมีอิสระ และความคล่องตัวในการบริหารจัดการ ทั้งเรื่องการจัดการทางการเงิน การงบประมาณ และการบริหารงานบุคคล มีกฎระเบียบที่กำหนดโดยสถาบัน เพื่อใช้บริหารจัดการภายใน ซึ่งจะเป็นการเพิ่มโอกาสในการพัฒนาสถาบันสู่ความเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำในระดับภูมิภาคและมหาวิทยาลัยที่ได้รับการจัดอันดับอยู่ในกลุ่มมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลก (World Class University) ทำให้สถาบันมีศักยภาพที่พร้อมต่อการแข่งขันมากขึ้น ซึ่งต่างกับ “สถาบันอุดมศึกษาในสังกัดของรัฐ” ตรงที่ยังมีสภาพเป็นส่วนราชการ บริหารจัดการสถาบันโดยอ้างอิงกฎระเบียบของทางราชการ โดยแนวคิดดังกล่าวเกิดขึ้นตั้งแต่ปี 2507 แต่ถูกนำมาสู่การปฏิบัติอย่างจริงจังเมื่อปี 2530 จากการที่ทบวงมหาวิทยาลัยริเริ่มโครงการจัดทำแผนอุดมศึกษาระยะยาว 15 ปี (พ.ศ. 2533-2547) ขึ้น ซึ่ง 1 ใน 6 ข้อเสนอระบุว่า “รัฐบาลพึงให้การสนับสนุนการปฏิรูปความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันอุดมศึกษาระดับปริญญากับรัฐ โดยพัฒนาสถาบันอุดมศึกษาของรัฐในสังกัดทบวงมหาวิทยาลัยที่มีอยู่แล้วให้มีความเป็นอิสระ คล่องตัว มีประสิทธิภาพและสามารถบรรลุความเป็นเลิศทางวิชาการ โดยปรับเปลี่ยนไปเป็นมหาวิทยาลัยที่ไม่เป็นส่วนราชการ ส่วนสถาบันอุดมศึกษาของรัฐที่จะจัดตั้งใหม่ ให้มีฐานะและรูปแบบเป็นมหาวิทยาลัยของรัฐที่ไม่เป็นส่วนราชการตั้งแต่แรกตั้ง ดังนั้น สถาบันจึงได้มอบหมายให้กองบริหารทรัพยากรบุคคลเริ่มดำเนินการขับเคลื่อนสถาบันสู่การเป็นสถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐตามลำดับ ดังนี้


1. สถาบันแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการยกร่างพระราชบัญญัติสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ โดยมีตัวแทนจากทุกหน่วยงานทั้งสายวิชาการและสายสนับสนุนร่วมเป็นกรรมการ จำนวน 46 คน โดยมีรองอธิการบดีฝ่ายบริหาร เป็นประธานกรรมการ และรองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ เป็นรองประธานกรรมการ (คำสั่งสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ที่ 225/2558 ลงวันที่ 7 เมษายน 2558 และคำสั่งสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ที่ 404/2558 ลงวันที่ 22 มิถุนายน 2558) เพื่อยกร่างพระราชบัญญัติสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ พ.ศ. ... โดยสถาบันได้แต่งตั้งคณะกรรมการประชาสัมพันธ์และรับฟังความคิดเห็นร่างพระราชบัญญัติสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ โดยมีรองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ เป็นประธานกรรมการ และรองอธิการบดีฝ่ายบริหาร เป็นรองประธานกรรมการ (คำสั่งสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ที่ 436/2558 ลงวันที่ 30 มิถุนายน 2558) เพื่อทำหน้าที่รับฟังความคิดเห็นจากประชาคมประกอบการยกร่างพระราชบัญญัติสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ พ.ศ. ... ดังนี้

                   1.1    จัดทำร่างพระราชบัญญัติสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ พ.ศ. ... เป็นเอกสารแจกจ่ายและเวียนรับฟังความคิดเห็นจากทุกหน่วยงาน เมื่อวันที่ 8 กันยายน 2558 โดยมีระยะเวลาในการดำเนินการตั้งแต่วันที่ 8 กันยายน 2558 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2558

                   1.2    รับฟังความเห็นครั้งที่ 1 จากที่ประชุมประชุมคณบดี/ผู้อำนวยการสำนัก ครั้งที่ 9/2558 ในวันที่ 23 กันยายน 2558

                   1.3    จัดทำร่างพระราชบัญญัติสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ พ.ศ. ... (ฉบับปรับปรุงตามมติที่ประชุมคณะกรรมการดำเนินการยกร่างพระราชบัญญัติสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ครั้งที่ 4 เมื่อวันที่ 7 กันยายน 2558) เป็นเอกสารและจัดส่งให้บุคลากรทุกคนของสถาบัน เมื่อวันที่ 17 กันยายน 2558 (ก่อนการประชาพิจารณ์ ครั้งที่ 1) โดยหนังสือจัดส่งร่างพระราชบัญญัติสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ พ.ศ. ...  ดังกล่าวได้ประกาศและเชิญชวนบุคลากรทุกคนเข้าร่วมการประชาพิจารณ์ และระบุวัน เวลา และสถานที่ แจ้งให้ทราบก่อนการประชาพิจารณ์เป็นเวลา 18 วัน  

                   1.4    การประชาพิจารณ์ร่างพระราชบัญญัติสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ พ.ศ. ... ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2558 ณ ห้องประชุมจีระ บุญมาก ชั้น 3 อาคารสยามบรมราชกุมารี สถาบันบัณฑิตพัฒน   บริหารศาสตร์ มีผู้เข้าร่วม จำนวน 387 คน  โดยหลังจากการประชาพิจารณ์ได้มีการสรุปประเด็น ข้อคัดค้าน และความเห็นจากผู้เข้าร่วมประชาพิจารณ์ โดยระบุประเด็น รายละเอียดความเห็นหรือข้อคัดค้านในแต่ละข้อรายมาตรา เพื่อนำเสนอคณะกรรมการดำเนินการยกร่างพระราชบัญญัติสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ และได้มีการเผยแพร่สรุปประเด็นดังกล่าวบนระบบสื่อสารภายในสถาบัน (ICS) และเว็บไซต์สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (www.nida.ac.th) แล้ว ทั้งนี้ ในการประชาพิจารณ์ได้มีการให้คณะกรรมการดำเนินการยกร่างพระราชบัญญัติสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ที่รับผิดชอบในการยกร่างเป็นผู้นำเสนอ รับฟังความเห็น และชี้แจงเหตุผล

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

                   1.5    ประชุมคณะกรรมการดำเนินการยกร่างพระราชบัญญัติสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2558 เพื่อพิจารณาความเห็นและข้อเสนอแนะของประชาคมตามข้อ 1.1, 1.2 และ 1.4 และแก้ไขร่างพระราชบัญญัติสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ พ.ศ. ... เพื่อนำไปรับฟังความคิดเห็นอีกครั้ง

                   1.6    จัดทำร่างพระราชบัญญัติสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ พ.ศ. ... (ฉบับปรับปรุงตามมติที่ประชุมคณะกรรมการดำเนินการยกร่างพระราชบัญญัติสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ครั้งที่ 5 เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2558) เป็นเอกสารและจัดส่งให้บุคลากรทุกคนของสถาบัน เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2558 (ก่อนการประชาพิจารณ์ ครั้งที่ 2) โดยหนังสือจัดส่งร่างพระราชบัญญัติสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ พ.ศ. ...  ดังกล่าวได้ประกาศและเชิญชวนบุคลากรทุกคนเข้าร่วมการประชาพิจารณ์ และระบุวัน เวลา และสถานที่ แจ้งให้ทราบก่อนการประชาพิจารณ์เป็นเวลา 5 วัน

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

                   1.7    การประชาพิจารณ์ร่างพระราชบัญญัติสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ พ.ศ. ... ครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2558 มีผู้เข้าร่วม จำนวน 308 คน  โดยหลังจากการประชาพิจารณ์ได้มีการสรุปประเด็น ข้อคัดค้าน และความเห็นจากผู้เข้าร่วมประชาพิจารณ์ โดยระบุประเด็น รายละเอียดความเห็นหรือข้อคัดค้านในแต่ละข้อรายมาตรา เพื่อนำเสนอคณะกรรมการดำเนินการยกร่างพระราชบัญญัติสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ และได้มีการเผยแพร่สรุปประเด็นดังกล่าวบนระบบสื่อสารภายในสถาบัน (ICS) และเว็บไซต์สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (www.nida.ac.th) แล้ว ทั้งนี้ ในการประชาพิจารณ์ได้มีการให้คณะกรรมการดำเนินการยกร่างพระราชบัญญัติสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ที่รับผิดชอบในการยกร่างเป็นผู้นำเสนอ รับฟังความเห็น และชี้แจงเหตุผล

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

                   1.8    จัดทำหนังสือถึงมหาวิทยาลัยต่างๆ ที่มีประสบการณ์ในการดำเนินการยกร่างพระราชบัญญัติเพื่อเปลี่ยนสถานภาพมหาวิทยาลัยเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ จำนวน 9 มหาวิทยาลัย ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี มหาวิทยาลัย            แม่ฟ้าหลวง และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี เพื่อขอความเห็นและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับร่างพระราชบัญญัติสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ พ.ศ. ... เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2558

                   1.9    รับฟังความเห็นครั้งที่ 2 จากที่ประชุมประชุมคณบดี/ผู้อำนวยการสำนัก ครั้งที่ 1/2559 เมื่อวันที่ 20 มกราคม 2559

                   1.10  ประชุมคณะกรรมการดำเนินการยกร่างพระราชบัญญัติสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2558 เพื่อพิจารณาความเห็นและข้อเสนอแนะของประชาคมตามข้อ 1.7, 1.8 และ 1.9 และแก้ไขร่างพระราชบัญญัติสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ พ.ศ. ... อีกครั้ง

                   ทั้งนี้ ในการดำเนินการยกร่างพระราชบัญญัติสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ พ.ศ. ... คณะกรรมการดำเนินการยกร่างพระราชบัญญัติสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ได้มีการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการย่อย จำนวน 5 ชุด (คำสั่งสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ที่ 227/2558 ลงวันที่ 8 เมษายน 2558) โดยมีตัวแทนจากคณะกรรมการดำเนินการยกร่างพระราชบัญญัติสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์และบุคลากรอื่นๆ ของสถาบันร่วมเป็นอนุกรรมการ เพื่อศึกษาในแต่ละเรื่องที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ชุดที่ 1 มีอำนาจหน้าที่ในการศึกษา วิเคราะห์ และยกร่างเกี่ยวกับหมวดที่ว่าด้วยบททั่วไปในพระราชบัญญัติสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ชุดที่ 2 มีอำนาจหน้าที่ในการศึกษา วิเคราะห์ และยกร่างเกี่ยวกับหมวดที่ว่าด้วยการดำเนินการในพระราชบัญญัติสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ชุดที่ 3 มีอำนาจหน้าที่ในการศึกษา วิเคราะห์ และยกร่างเกี่ยวกับหมวดที่ว่าด้วยคณาจารย์และการบริหารงานบุคคลในพระราชบัญญัติสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ชุดที่ 4 มีอำนาจหน้าที่ในการศึกษา วิเคราะห์ และยกร่างเกี่ยวกับหมวดที่ว่าด้วยการประกันคุณภาพและการประเมิน การบัญชีและการตรวจสอบ การกำกับและดูแล ปริญญาและเครื่องหมายวิทยฐานะในพระราชบัญญัติสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ และชุดที่ 5 มีอำนาจหน้าที่ในการศึกษา วิเคราะห์ และยกร่างเกี่ยวกับหมวดที่ว่าด้วยบทกำหนดโทษ และบทเฉพาะกาลในพระราชบัญญัติสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์


2. สถาบันแต่งตั้งคณะกรรมการจัดทำระบบ โครงสร้าง และข้อบังคับประกอบร่างพระราชบัญญัติสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (คำสั่งสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ที่ 403/2558 ลงวันที่ 22 มิถุนายน 2558) โดยมีตัวแทนจากทุกหน่วยงานทั้งสายวิชาการและสายสนับสนุนร่วมเป็นกรรมการ จำนวน 28 คน ซึ่งมีรองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ เป็นประธานกรรมการ และรองอธิการบดีฝ่ายบริหาร  เป็นรองประธานกรรมการ  เพื่อศึกษาระบบงานและโครงสร้างต่างๆ ในปัจจุบันของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์  ออกแบบร่างระบบงานและโครงสร้าง และเสนอความเห็นในการศึกษาต่อคณะกรรมการดำเนินการยกร่างพระราชบัญญัติสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์เพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

                   ทั้งนี้ ในการดำเนินการศึกษาระบบงานและโครงสร้างต่างๆ คณะกรรมการจัดทำระบบ โครงสร้าง และข้อบังคับประกอบร่างพระราชบัญญัติสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการย่อย จำนวน ๕ ชุด (คำสั่งสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ที่ 437/2558 ลงวันที่ 30 มิถุนายน 2558) โดยมีตัวแทนจากคณะกรรมการจัดทำระบบ โครงสร้าง และข้อบังคับประกอบร่างพระราชบัญญัติสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์และบุคลากรอื่นๆ ของสถาบันร่วมเป็นอนุกรรมการ เพื่อศึกษาในแต่ละเรื่องที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ โครงสร้างองค์การ การบริหารงานบุคคล การเงินและการตรวจสอบ นโยบายและแผน และวิชาการและการศึกษา


3. สถาบันแต่งตั้งคณะกรรมการประชาสัมพันธ์และรับฟังความคิดเห็นร่างพระราชบัญญัติสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ โดยมีตัวแทนจากทุกหน่วยงานทั้งสายวิชาการและสายสนับสนุนร่วมเป็นกรรมการ จำนวน 30 คน เพื่อเป็นองค์คณะในการดำเนินการจัดการรับฟังความเห็น การประชาพิจารณ์ และการสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเป็นสถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐให้กับประชาคมนิด้า ดังนี้

                   3.1    วันศุกร์ที่ 15 พฤษภาคม 2558 หัวข้อ ประสบการณ์การนำมหาวิทยาลัยออกนอกระบบ กรณีศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล โดย รองศาสตราจารย์ นายแพทย์สรนิต ศิลธรรม รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา และอดีตรองอธิการบดีฝ่ายนโยบายและแผน มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นวิทยากร และมีผู้เข้าร่วม จำนวน 433 คน โดยภายหลังจากการสร้างความรู้ความเข้าใจ คณะกรรมการได้จัดทำให้มีการรับฟังความคิดเห็น ข้อคัดค้าน และประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการเป็นสถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐ โดยผู้เข้าร่วมจะแสดงความคิดเห็น และคณะกรรมการได้จัดทำสรุปรายงานผลโครงการที่มีรายละเอียดเกี่ยวกับผู้เข้าร่วมโครงการ ความคิดเห็นเกี่ยวกับการเป็นสถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐ ซึ่งระบุรายละเอียดที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย พร้อมทั้งข้อสงสัยและประเด็นห่วงใย และได้มีการเผยแพร่รายละเอียดดังกล่าวบนระบบสื่อสารภายในสถาบัน (ICS) และเว็บไซต์สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (www.nida.ac.th) แล้ว

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

                   3.2    วันที่ 29 พฤษภาคม 2558 หัวข้อ ทำไมต้องเปลี่ยนเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ โดย อาจารย์ธนิตสรณ์ จิระพรชัย รองอธิการบดีฝ่ายแผนและสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เป็นวิทยากร และมีผู้เข้าร่วม จำนวน 337 คน โดยภายหลังจากการสร้างความรู้ความเข้าใจ คณะกรรมการได้จัดทำให้มีการรับฟังความคิดเห็น ข้อคัดค้าน และประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการเป็นสถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐ โดยผู้เข้าร่วมจะแสดงความคิดเห็น และคณะกรรมการได้จัดทำสรุปรายงานผลโครงการที่มีรายละเอียดเกี่ยวกับผู้เข้าร่วมโครงการ ความคิดเห็นเกี่ยวกับการเป็นสถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐ ซึ่งระบุรายละเอียดที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย พร้อมทั้งข้อสงสัยและประเด็นห่วงใย และได้มีการเผยแพร่รายละเอียดดังกล่าวบนระบบสื่อสารภายในสถาบัน (ICS) และเว็บไซต์สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (www.nida.ac.th) แล้ว

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

                   3.3    วันที่ 2 มิถุนายน 2558 หัวข้อ นิด้ากับการเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ โดยผู้บริหารสถาบัน เป็นวิทยากร และมีผู้เข้าร่วม จำนวน 419 คน โดยภายหลังจากการสร้างความรู้ความเข้าใจ คณะกรรมการได้จัดทำให้มีการรับฟังความคิดเห็น ข้อคัดค้าน และประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการเป็นสถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐ โดยผู้เข้าร่วมจะแสดงความคิดเห็น และคณะกรรมการได้จัดทำสรุปรายงานผลโครงการที่มีรายละเอียดเกี่ยวกับผู้เข้าร่วมโครงการ ความคิดเห็นเกี่ยวกับการเป็นสถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐ ซึ่งระบุรายละเอียดที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย พร้อมทั้งข้อสงสัยและประเด็นห่วงใย และได้มีการเผยแพร่รายละเอียดดังกล่าวบนระบบสื่อสารภายในสถาบัน (ICS) และเว็บไซต์สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (www.nida.ac.th) แล้ว

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

                   3.4    วันที่ 30 มิถุนายน 2558 หัวข้อ บุคลากรสายสนับสนุนกับมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ โดยผู้อำนวยการกองบริหารทรัพยากรบุคคลจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นวิทยากร และมีผู้เข้าร่วม จำนวน 282 คน โดยภายหลังจากการสร้างความรู้ความเข้าใจ คณะกรรมการได้จัดทำให้มีการรับฟังความคิดเห็น ข้อคัดค้าน และประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการเป็นสถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐ โดยผู้เข้าร่วมจะแสดงความคิดเห็น และคณะกรรมการได้จัดทำสรุปรายงานผลโครงการที่มีรายละเอียดเกี่ยวกับผู้เข้าร่วมโครงการ ความคิดเห็นเกี่ยวกับการเป็นสถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐ ซึ่งระบุรายละเอียดที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย พร้อมทั้งข้อสงสัยและประเด็นห่วงใย และได้มีการเผยแพร่รายละเอียดดังกล่าวบนระบบสื่อสารภายในสถาบัน (ICS) และเว็บไซต์สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (www.nida.ac.th) แล้ว

                   3.5    วันที่ 5 สิงหาคม 2558 หัวข้อ มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐบนวิถีแห่งการเปลี่ยนแปลง โดย ดร.กฤษณพงศ์  กีรติกร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และ ศาสตราจารย์ ดร.วิจิตร ศรีสอ้าน ตำแหน่งนายกสภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี และอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นวิทยากร และมีผู้เข้าร่วม จำนวน 260 คน โดยภายหลังจากการสร้างความรู้ความเข้าใจ คณะกรรมการได้จัดทำให้มีการรับฟังความคิดเห็น ข้อคัดค้าน และประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการเป็นสถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐ โดยผู้เข้าร่วมจะแสดงความคิดเห็น และคณะกรรมการได้จัดทำสรุปรายงานผลโครงการที่มีรายละเอียดเกี่ยวกับผู้เข้าร่วมโครงการ ความคิดเห็นเกี่ยวกับการเป็นสถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐ ซึ่งระบุรายละเอียดที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย พร้อมทั้งข้อสงสัยและประเด็นห่วงใย

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

                   3.6    วันที่ 26 สิงหาคม 2558 สถาบันจัดให้มีการระดมสมองผู้บริหารสถาบัน ได้แก่ คณบดี รองคณบดี ผู้อำนวยการสำนัก รองผู้อำนวยการสำนัก ผู้อำนวยการกองและเลขานุการคณะ/ สำนักทุกคน                ในหัวข้อ ทิศทางสถาบันกับการเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ

                   3.7    วันที่ 8 กันยายน 2558 หัวข้อ แนวทางการจัดทำข้อบังคับสำหรับการบริหารสถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐ โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ คันธมานนท์ ตำแหน่งรองอธิการบดีอาวุโสฝ่ายบริหาร และผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูง (CIO) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจองเกล้าธนบุรี เป็นวิทยากร

                   การสร้างความรู้ความเข้าใจตามข้อ 3.1-3.5 สถาบันได้รวบรวมความคิดเห็น (แยกเป็นกรณีเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย) และประเด็นต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนสถานภาพสถาบันเป็นสถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐรายงานต่อคณะกรรมการขับเคลื่อนการเปลี่ยนสถานภาพสถาบันเป็นสถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐ คณะกรรมการดำเนินการยกร่างพระราชบัญญัติสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ คณะกรรมการประชาสัมพันธ์และรับฟังความคิดเห็นร่างพระราชบัญญัติสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ คณะกรรมการจัดทำระบบ โครงสร้าง และข้อบังคับประกอบร่างพระราชบัญญัติสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ และเผยแพร่ความคิดเห็นและประเด็นต่างๆ ในระบบสื่อสารภายในสถาบัน (ICS) ซึ่งบุคลากรของสถาบันทุกท่านสามารถเข้าถึงได้ และเว็บไซต์สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (www.nida.ac.th)


4. สภาคณาจารย์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ได้จัดเสวนา หัวข้อ นานาทัศนะกับการออกนอกระบบ โดย รองศาสตราจารย์ ดร.วีรชัย พุทธวงศ์ จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ รองศาสตราจารย์ ดร.สุทธนู ศรีไสย์ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิวัฒน์ชัย กุลมาตย์ จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง ร่วมเป็นวิทยากร และมี ศาสตราจารย์ ดร.ศิวัช พงษ์เพียจันทร์ ตัวแทนสภาคณาจารย์ เป็นผู้ดำเนินรายการ เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2558 และมีผู้เข้าร่วม 70 คน

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์


5. มีการเผยแพร่เอกสารที่เกี่ยวข้องผ่านระบบสื่อสารภายในสถาบัน (ICS) และเปิดช่องทางในการรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากบุคลากรและหน่วยงานต่างโดยกล่องวางกล่องรับฟังความเห็นตามอาคารต่างๆ ทั่วสถาบัน จำนวน 5 จุด ทางช่องสังคมออนไลน์ Facebook และเว็บไซต์สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (www.nida.ac.th)


 6. หลังจากการประชาพิจารณ์ รับฟังความคิดเห็น และสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับประชาคมนิด้าแล้ว สถาบันโดยคณะกรรมการประชาสัมพันธ์และรับฟังความคิดเห็นร่างพระราชบัญญัติสถาบันบัณฑิตพัฒน         บริหารศาสตร์ได้จัดให้มีการออกเสียงประชามติเพื่อเปลี่ยนสถานภาพสถาบันเป็นสถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐ ระหว่างวันที่ 26-30 ตุลาคม 2558 โดยมีผลการประชามติ ดังนี้

                   6.1    ผู้มีสิทธิออกเสียงประชามติ จำนวน 644 คน

                   6.2    ผู้มาใช้สิทธิออกเสียงประชามติ จำนวน 589 คน คิดเป็นร้อยละ 91.46

                   6.3    ผลการออกเสียงประชามติ ผู้มีสิทธิออกเสียงประชามติเห็นชอบโดยเสียงข้างมากให้เปลี่ยนสถานภาพสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์เป็นสถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐ โดยมีรายละเอียด ดังนี้

                          (1)   เห็นชอบ จำนวน 354 คะแนนเสียง คิดเป็นร้อยละ 60.10

                          (2)   ไม่เห็นชอบ จำนวน 202 คะแนนเสียง คิดเป็นร้อยละ 34.30

                          (3)   งดออกเสียง จำนวน 31 คน คิดเป็นร้อยละ 5.26

                          (4)   บัตรเสีย จำนวน 2 บัตร คิดเป็นร้อยละ 0.34

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์


7. หลังจากการสร้างความรู้ความเข้าใจ รับฟังความคิดเห็น การประชาพิจารณ์ และการประชามติเรียบร้อยแล้ว คณะกรรมการดำเนินการยกร่างพระราชบัญญัติสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ในการประชุมครั้งที่ 7/2558 เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2558 ได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ พ.ศ. ... ประกอบกับความเห็นจากประชาพิจารณ์และการรับฟังความเห็นอีกครั้ง


8. ก่อนนำเสนอสภาสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ สถาบันได้จัดให้มีการประชุมเพื่อนำเสนอร่างพระราชบัญญัติสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ พ.ศ. ... เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2559 โดยประธานคณะกรรมการดำเนินการยกร่างพระราชบัญญัติสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ มีผู้เข้าร่วม จำนวน 274 คน เพื่อแจ้งให้ประชาคมทราบร่างพระราชบัญญัติสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ พ.ศ. ... (ฉบับนำเสนอสภาสถาบัน) อีกครั้ง และรับฟังความเห็นเพิ่มเติมเสนอต่อสภาสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์


9. นำเสนอสภาสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ จำนวน 5 ครั้ง เพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ พ.ศ. ... ดังนี้

                   9.1    ครั้งที่ 1 ในการประชุมสภาสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ครั้งที่ 2/2559 (พิเศษ) เมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2559

                   9.2    ครั้งที่ 2 ในการประชุมสภาสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ครั้งพิเศษ เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2559

                   9.3    ครั้งที่ 3 ในการประชุมสภาสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ครั้งที่ 3/2559 เมื่อวันที่ 12 เมษายน 2559

                   9.4    ครั้งที่ 4 ในการประชุมสภาสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ครั้งที่ 4/2559 เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2559

                   9.5      ครั้งที่ 5 ในการประชุมสภาสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ครั้งที่ 5/2559 เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2559


10. วันที่ 3 เมษายน 2561 คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ พ.ศ. .... และส่งให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา


11. วันที่ 26 ก.ค.-27 ก.ย. 2561 คณะกรรมการกฤษฎีกา คณะที่ 8 ประกอบศาสตราจารย์ ดร.เกษม สุวรรณกุล เป็นประธานกรรมการ นายทักษพล เจียมวิจิตร ศาสตราจารย์พิเศษธงทอง จันทรางศุ นายสุรินทร์ นาควิเชียร ศาสตราจารย์พิเศษนรนิติ เศรษฐบุตร นายบุญปลูก ชายเกตุ คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยยา ศาสตราจารย์ ดร.สุรพล นิติไกรพจน์ นางกาญจนารัตน์ ลีวิโรจน์ และดร. กฤษณพงศ์ กีรติกร เป็นกรรมการ เป็นองค์คณะผู้ตรวจพิจารณาร่างพระราชบัญญัติสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ พ.ศ. .... และมีตัวแทนของสถาบันนำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.เกษมศานต์ โชติชาครพันธุ์  รองอธิการบดีฝ่ายวางแผน  รองศาสตราจารย์ ดร.ระวีวรรณ เอื้อพันธ์วิริยะกุล  รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ  รองศาสตราจารย์ ดร.ประพนธ์ สหพัฒนา  รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร  ศาสตราจารย์ ดร.กำพล ปัญญาโกเมศ  รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ (ตำแหน่งในขณะนั้น) พร้อมด้วย นายปภาณภณ ปภังกรภูรินท์  บุคลากรชำนาญการพิเศษ  นางสาวประภัสสร ประทุมนอก  นิติกรชำนาญการ นางสาววริษฐา  บุณยเศรษฐ  นิติกรปฏิบัติการ และนายธนวรรธน์  วรรณธนะเดชาธร นิติกรปฏิบัติการ เข้าร่วมการชี้แจงต่อคณะกรรมการกฤษฎีกา คณะที่ 8


12. เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2561 คณะรัฐมนตรีได้นำเสนอร่างพระราชบัญญัติสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ พ.ศ. ... ต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ


13. วันที่ 28 ธันวาคม 2561 ศาสตราจารย์ ดร.กำพล ปัญญาโกเมศ รักษาการแทนอธิการบดี รองศาสตราจารย์ ดร.ประพนธ์ สหพัฒนา รักษาราชการแทนรองอธิการบดีฝ่ายบริหาร พร้อมด้วยนายปภาณภณ ปภังกรภูรินท์ นางสาวประภัสสร ประทุมนอก และนายวงศกร จ้อยศรี เดินทางไปเข้าร่วมการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ พ.ศ. .... ที่เข้าสู่การพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติเป็นเรื่องที่ 11 ซึ่งเป็นเรื่องสุดท้ายการประชุมในปี 2561 โดยศาสตราจารย์ ดร.กำพล ปัญญาโกเมศ รองศาสตราจารย์ ดร.ประพนธ์ สหพัฒนา และนายปภาณภณ ปภังกรภูรินท์ ได้เข้าห้องประชุมรัฐสภาเพื่อชี้แจง โดยมี นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย รองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ คนที่ 1 ทำหน้าที่ประธานที่ประชุม ซึ่งสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในการประชุมครั้งที่ 91/2561 เป็นพิเศษ เมื่อวันศุกร์ที่ 28 ธันวาคม 2561 มีมติด้วยคะแนนเสียง 130 (งดออกเสียง 2 คน) รับหลักการของร่างพระราชบัญญัติสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ พ.ศ. .... แล้ว โดยได้แต่งตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ พ.ศ. .... ประกอบด้วย

                   (1)    นายกิตติ วะสีนนท์  ประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญ

                   (2)    ศาสตราจารย์คลินิกนิเวศน์ นันทจิต  รองประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญ คนที่หนึ่ง

                   (3)    นายโกศล เพ็ชร์สุวรรณ์  รองประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญ คนที่สอง

                   (4)    นายศิระชัย โชติรัตน์  รองประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญ คนที่สาม

                   (5)    พลอากาศเอก ธงชัย แฉล้มเขตร  เลขานุการคณะกรรมาธิการวิสามัญ

                   (6)    รองศาสตราจารย์ทวีศักดิ์ สูทกวาทิน  โฆษกคณะกรรมาธิการวิสามัญ

                   (7)    ศาสตราจารย์นิสดารก์ เวชยานนท์  รองโฆษกคณะกรรมาธิการวิสามัญ

                   (8)    พลตรี จารึก อารีราชการัณย์  ประธานที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการวิสามัญ

                   (9)    ศาสตราจารย์พิเศษนรนิติ เศรษฐบุตร  ที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการวิสามัญ

                   (10)   รองศาสตราจารย์ คุณหญิงสุมณฑา พรหมบุญ  ที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการวิสามัญ

                   (11)   ศาสตราจารย์พิเศษธงทอง จันทรางศุ  ที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการวิสามัญ

                   (12)   ผู้ช่วยศาสตราจารย์วุฒิศักดิ์ ลาภเจริญทรัพย์  ที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการวิสามัญ

                   (13)   พลเอก อุดมชัย ธรรมสาโรรัชต์  กรรมาธิการวิสามัญ

                   (14)   รองศาสตราจารย์ประพนธ์ สหพัฒนา  กรรมาธิการวิสามัญ

                   (15)   ศาสตราจารย์กำพล ปัญญาโกเมศ  กรรมาธิการวิสามัญ

                   (16)   นางภาณุมาศ สิทธิเวคิน  กรรมาธิการวิสามัญ

                   (17)   นายสุภัทร บุญส่ง  กรรมาธิการวิสามัญ

                   โดยคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ พ.ศ. .... จะมีกรอบระยะเวลาในการพิจารณา 45 วันนับตั้งแต่วันที่สภานิติบัญญัติแห่งชาติมีมติรับหลักการ คือ วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2562

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์


14. คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ พ.ศ. .... ซึ่งมีนางสาวสิรภัทร พิมพ์แก้ว เป็นผู้ช่วยเลขานุการ ได้มีการประชุมเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ พ.ศ. .... จำนวน 7 ครั้ง ได้แก่ ครั้งที่ 1 เมื่อวันศุกร์ที่ 28 ธันวาคม 2562 ครั้งที่ 2 เมื่อวันพุธที่ 9 มกราคม 2562 ครั้งที่ 3 เมื่อวันศุกร์ที่ 11 มกราคม 2562 ครั้งที่ 4 เมื่อวันอังคารที่ 15 มกราคม 2562 ครั้งที่ 5 เมื่อวันศุกร์ที่ 18 มกราคม 2562 ครั้งที่ 6 เมื่อวันอังคารที่ 22 มกราคม 2562 และครั้งที่ 7 เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 24 มกราคม 2562 และเมื่อคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องก่อนนำเสนอต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติได้ประชุมเมื่อวันที่ 28 มกราคม 2562 พิจารณาเรียบร้อยแล้ว คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ พ.ศ. .... ได้มีการประชุมครั้งพิเศษ เมื่อวันที่ 29 มกราคม 2562 เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการชี้แจงการพิจารณากฎหมายต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ โดยในการพิจารณาแต่ละครั้งได้มีตัวแทนของสถาบันเข้าร่วมชี้แจง ได้แก่ นายปภาณภณ ปภังกรภูรินท์  บุคลากรชำนาญการพิเศษ นางสาวประภัสสร ประทุมนอก  นิติกรชำนาญการ และนายวงศกร จ้อยศรี  บุคลากรปฏิบัติการ


15. วันที่ 31 มกราคม 2562 ที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ลงมติในวาระที่ 3 เห็นสมควรประกาศใช้ร่างพระราชบัญญัติสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ พ.ศ. .... เป็นกฎหมาย ด้วยคะแนนเสียง เห็นด้วย 145 เสียง ไม่เห็นด้วย 1 เสียง งดออกเสียง 2 เสียง

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์


16. วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2562 ศาสตราจารย์ ดร.กำพล ปัญญาโกเมศ  อธิการบดี  นายปภาณภณ ปภังกรภูรินท์  บุคลากรชำนาญการพิเศษ และนายวงศกร จ้อยศรี  บุคลากรปฏิบัติการ เดินทางไปอ่านทวนร่างพระราชบัญญัติสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ พ.ศ. .... ที่สำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ก่อนนำเสนอนายกรัฐมนตรีนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวาย เพื่อพระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธยให้ประกาศใช้เป็นกฎหมาย


17. วันที่ 16 เมษายน 2562 พระราชบัญญัติสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ พ.ศ. 2562 ได้รับการประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 136 ตอนที่ 50 ก วันที่ 16 เมษายน 2562 หน้า 177-207